สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน สิ่งที่มือใหม่ควรศึกษาก่อนซื้อ

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน  เป็นสิ่งที่นักลงทุนรุ่นใหม่ หรือคนที่คิดจะมีบ้านหลังแรกควรให้ความใส่ใจและเข้าใจเสียก่อน เพราะหลายคนละเลยในสัญญาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในภายหลังมาหลายรายแล้ว วันนี้เราเลยสรุปเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายบ้านมาเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจและช่วยให้มือใหม่เข้าใจได้มากขึ้น

แม้ว่าทางกฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องการทำสัญญาจะซื้อจะขาย แต่การทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อว่าจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้จะขาย โดยจะวางเงินมัดจำเป็นการประกันว่าจะซื้อจะขายกัน และจะโอนกรรมสิทธิ์ขึ้นภายในช่วงระยะเวลาที่เขียนกำหนดเอาไว้ในสัญญา โดยนอกจากที่จะเป็นหลักประกันว่าผู้จะซื้อจะมีการซื้อจริงแล้วนั้น ยังเป็นหลักประกันว่าผู้จะขายจะไม่ขายอสังหาริมทรัพย์นี้ให้กับบุคคลอื่น โดยหากผู้จะซื้อเกิดทำผิดสัญญา ผู้จะขายสามารถยึดเงินมัดจำได้ แต่หากผู้จะขายนั้นเป็นฝ่ายผิดสัญญา ก็จะสามารถเรียกเงินมัดจำคืน และฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้ โดยก่อนเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านต้องอ่านข้อมูลอย่างละเอียดก่อนที่จะเซ็นชื่อเพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีการวางมัดจำประมาณเท่าไหร่

โดยหากเป็นมือสองโดยทั่วไปจะวางเงินมัดจำในช่วง 10,000 ถึง 20,000 บาท หรือคิดประมาณอัตราร้อยละ 5-10 จากราคาขายที่ตกลงกัน แต่หากเป็นมือหนึ่ง การมัดจำเป็นเงินจองที่เก็บเพียง 1-5% ขึ้นอยู่แต่ละโครงการ โดยส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้จะซื้อและผู้จะขายมากกว่า

การกำหนดระยะเวลา

การกำหนดระยะเวลาจะกำหนดให้ชำระเงินส่วนที่เหลือจากมัดจำในช่วง 1-3 เดือนนับจากสัญญา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มากพอที่ผู้จะซื้อสามารถทำการกู้เงินเพื่อขอสินเชื่อต่าง ๆ ได้

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน

วิธีการเขียน  สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ชื่อของคู่สัญญา

ในสัญญาต้องมีชื่อ สกุลของทั้งสองฝ่าย โดยฝั่งผู้จะขายเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนด โดยหาในโฉนดกี่คนต้องเขียนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทุกคนลงในสัญญาทั้งหมด แต่ผู้ซื้อจะใช้ชื่อกี่คนก็ได้

อสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงจะซื้อจะขาย

อสังหาริมทัพย์ที่ตกลงจะซื้อขาย โดยต้องระบุให้ชัดเจนและครบถ้วนว่าตกลงจะซื้อขายอะไร ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินมีกี่ตารางวา โดยหากในที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างก็ต้องระบุลักษณะขอองอาคารด้วย อีกทั้งในส่วนรายการทรัพย์สินนออสังหาฯ ถ้ามีส่วนควบอื่น ๆ ที่ต้องการซื้อขายก็ต้องระบุไปในสัญญาให้ครบด้วย ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ แทงค์น้ำ มิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า แอร์ และอื่น ๆ โดยอาจจะเป็นใบแนบท้ายในสัญญาก็ได้

สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน กับราคาที่ต้องระบุ

การระบุราคาซื้อขายต้องเป็นตัวเลขซื้อขายเหมารวม หรือจะซื้อขายเป็นราคาต่อตารางวา กรณีที่ซื้อขายเฉพาะที่ดิน หรือเป็นตารางเมตร กรณีซื้อขายห้องชุดก็ได้

การชำระเงิน

ขึ้นอยู่กับการตกลงกันทั้งสองฝ่าย เช่น ผู้ซื้อวางมัดจำก่อนส่วนหนึ่งและจ่ายที่เหลือทั้งหมดในวันโอนกรรมสิทธิ์ เพื่อเป็นการยืนยันว่าจะซื้อแน่นอน หรือจำหนดการผ่อนเป็นงวด ๆ จนหมดแล้วค่อยไปโอนกรรมสิทธิ์ก็ได้หรือชำระทั้งหมดก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

กำหนดเวลาการโอนกรรมสิทธิ์

สิ่งสำคัญที่สุดของสัญญาจะซื้อขาย โดยสัญญาต้องระบุว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหน้าซึ่งจะกำหนดในวันที่ในสัญญาหรือเป็นเงื่อนไขก็ได้เช่นกัน เช่น โอนกรรมสิทธิ์เมื่อชำระเงินเสร็จสิ้นแล้ว เป็นต้น

ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์และภาษี

โดยทั่วไปคนซื้อมักรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนและค่าอากรแสตมป์ คนขายจะรับผิดชอบเรื่องภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าภาษีต่าง ๆ โดยแล้วแต่จะตกลงว่าใครจะจ่ายอะไรในสัญญาก็จะระบุไว้อย่างไรก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น

โดยทาง PLOY ก็ได้หาข้อมูลตัวอย่าง ตัวอย่างสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน เอาไว้ด้านล่าง สามารถดูเพื่อเป็นตัวอย่างเอาไว้ประกอบการตัดสินใจ และเป็นข้อมูลในการจะซื้อจะขายสำหรับมือใหม่ได้แน่นอนค่ะ

 

สนใจ โปรแกรม PLOY สามารถขอ Demo ทดลองใช้ฟรีได้แล้ว

>> คลิกที่นี่ <<

Credit :

https://www.home.co.th/hometips/topic-25136

https://www.baania.com

https://www.ddproperty.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save