อสังหา ฯ แนวราบ เทรนด์บ้านสำหรับผู้สูงวัย เพื่อสังคมผู้สูงอายุ

อสังหา ฯ แนวราบ ในช่วงนี้นอกจากจะได้รับความนิยมเพราะสถานการณ์และความเป็น New Normal แล้ว ก็ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจ คือสังคมเพื่อสูงอายุ ในปี 2548 ประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีคนที่อายุมากกว่า 60 ปีอยู่ถึง 10% ของประชากรทั้งหมด และมีอัตราที่เพิ่มขึ้นจำนวนกว่า 4% ต่อปี โดยในปี 2564 จะมีผู้สูงอายุกว่า 20% ของประชากร ทำให้ความจริงแล้วอายุระหว่าง 25-40 ปีเป็นช่วงปีที่ควรเก็บเงินออมเพื่อเกษียณ แต่หลายคนกลับเริ่มออมในช่วงอายุ 50-59 ปี เพราะบ้านเพื่อผู้สูงอายุมีต้นทุนสูง เพราะต้องมีระบบการจัดการและการดูแลที่ใกล้ชิด

กรณีตัวอย่างที่ประเทศญี่ปุ่นมีการจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุ และมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ง่ายกว่าประเทศไทย เพราะรัฐมีสวัสดิการจัดเก็บประชาชนในประเทศกว่า 30-40% เพื่อสำรองให้กับประชาชนในช่วงเกษียณอายุ ทำให้มีเงินก้อนเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อในช่วงหลังการเกษียณอายุ

อสังหา ฯ แนวราบ

บ้านสำหรับผู้สูงอายุ อสังหา ฯ แนวราบ ที่รองรับการใช้ชีวิตสูงวัย

ผู้ประกอบการอสังหา ฯ นั้นทราบดีว่าโครงการบ้านเพื่อผู้สูงอายุเกิดขึ้นได้ยากเพราะความเป็นจริง โครงการผู้สูงอายุมีต้นทุนสูง เพราะต้องมีระบบบริหารจัดการ การดูแลในด้านต่าง ๆ อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ระบบเตือนภัยผู้สูงอายุในโครงการเมื่อเกิดอุบัติเหตุ การดูแลจนใกล้ชิด

โดยเพราะความยุ่งยากในการจัดการและการดูแลบ้านที่เป็นผู้สูงอายุ ทำให้บ้านผู้สูงอายุนั้นมีราคาขายสูง และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการดูและและบริหารโครงการที่ต่างจากโครงการบ้านจัดสรรทั่วไป เมื่อบ้านมีราคาสูงทำให้กลุ่มที่ซื้อได้จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้สูง ซึ่งมีจำนวนน้อย และกระจายตัวอยู่ในภูมิภาค ทำให้ปัจจุบันมีโครงการประเภทนี้ไม่กี่โครงการเท่านั้น

แม้แต่โครงการของสภากาชาดไทย อาคารสวางคนิเวศ เป็นอาคารที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุสุขภาพดีมีฐานะปานกลาง ก็ยังต้องมีวินัยในการใช้จ่าย โดยผู้สูงอายุที่เข้ามาจะมีเรื่องค่าใช้จ่ายเช่น เก็บจากผู้อยู่อาศัย 1.2 ล้านบาท ค่าส่วนกลาง 2,500 บาท ค่าน้ำค่าไฟ 1,500 บาท ค่าอาหารอีก 3,000 บาทต่อเดือน โดยเฉลี่ยแล้วจะมีค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน โดยร้อยละ 60 เป็นสาวโสด กลุ่มข้าราชการที่เกษียณมีเงินบำนาญในการใช้จ่าย

ข้อมูลโครงการบ้านผู้สูงอายุมียูนิตที่เข้าสู่งตลาดในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมาไม่เกิน 4,000 ยูนิต โดยจำนวนผู้สูงอายุในประเทศมีจำนวนเป็นหลักล้าน

กคช. มีโครงการ อสังหา ฯ แนวราบ บ้านประชาวัยเกษียณ

หน่วยงานภาครัฐ อย่างการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งรับผิดชอบดูแลและพัฒนาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชน ได้ศึกษาความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ พร้อมศึกษาแนวทางแก้ปัญหา โดยแนวทางแก้ปัญหาในตอนนี้รัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณที่จะรองรับผู้สูงอายุในทั่วประเทศได้ ประกอบกับผู้สูงอายุยังไม่อยากย้ายที่อยู่อาศัย และต้องการอาศัยร่วมกับบุตรหลาน อีกทั้งยังกำลังซื้อต่ำ ขาดแหล่งสินเชื่อสนับสนุนเพราะโดยมาเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และสูงอายุ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ

กคช. จึงพัฒนาโครงการเพื่อผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง บุตรหลานมีโอกาสได้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย ดูแลบุพการี และผู้สูงอายุ โดยการจัดทำโครงการบ้านเคหะกตัญญู จำนวน 360 หน่วย รวมทั้งจัดทำโครงการ Senior Complex ใน 3 พื้นที่ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 360 หน่วย พื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 360 หน่วย และพื้นที่จังหวัดชลบุรี และได้มีการกันโควตา 10% จาก โครงการที่ กคช.พัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแฟลตดินแดง หรือบ้านเคหะชุมชน ซึ่งก็ยังไม่พอจะรองรับความต้องการที่มีอยู่ทั่วประเทศ

สำหรับในปี 2564 กคช. มีแผนพัฒนาโครงการหลัก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสุขประชา จำนวน 20,000 หน่วย โครงการบ้านผู้สูงอายุ หรือโครงการบ้านประชาวัยเกษียณ จำนวน 4,000 หน่วย โครงการบ้านสี่มุมเมือง หรือโครงการบ้านแซทเทลไลท์

สนใจ โปรแกรม PLOY สามารถขอ Demo ทดลองใช้ฟรีได้แล้ว

>> คลิกที่นี่ <<

 

credit :

www.baan-d.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Analytic และ Facebook Pixel

    เราได้มีการใช้งาน Google analytic และ Facebook pixel เพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสบการณ์การใช้งานของเว็บไซต์ได้อย่างดียิ่งขึ้น

Save